บทความนี้แอดมินจะนำพาทุกท่านไปท่องโลกของกาแฟจากประเทศ Guatemala กันค่ะ

Guatemala เป็นประเทศที่มีขนาดพื้นที่เพียง 108,890  km2 แต่กลับติดอันดับ 2 ของแหล่งผลิตกาแฟขนาดใหญ่สุดในภูมิภาคอเมริกากลางรองจาก Honduras มีจำนวนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยประมาณ 125,000 คน ครอบคลุมพื้นที่ปลูกเกือบ 1.70 ล้านไร่ กินส่วนแบ่งสูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์ ของสินค้าส่งออกทางการเกษตรของประเทศในปัจจุบัน

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1,700 กาแฟถูกนำเข้ามาโดยคณะมิชชั่นนารีโรมันคาทอลิค และใช้เป็นเพียงไม้ประดับ จนกระทั่งในปี 1,860 อุตสาหกรรมสีย้อมผ้าธรรมชาติของกัวเตมาลาถูกแทนที่ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการสังเคราะห์จากยุโรป จึงได้เริ่มคิดแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลสนับสนุนให้มีการปลูกกาแฟและกลายเป็นสินค้าส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

 “ไร่กาแฟในโซนอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ถูกเรียกเป็นภาษาสเปนว่า “ฟินคา” (Finca)

ในปี พ.. 2503 ผู้ปลูกกาแฟในกัวเตมาลาได้ก่อตั้งสภาพของตนเองขึ้นมา เพื่อทำการวิจัยด้านการตลาดและสนับสนุนการเงินให้แก่เกษตรกรและหาผู้เชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้และเทคนิคในการเพาะปลูก ชื่อว่า Anacafe (แอนนาคาเฟ่)

Anacafe เป็นผู้จัดแบ่งโซนแหล่งปลูกกาแฟของประเทศในช่วงต้นทศวรรษ 1990 โดยอาศัยการแบ่งแยกทางปัจจัยต่างๆ เช่น กลิ่นและรสชาติ, อุณหภูมิ, สภาพอากาศ, สภาพของดิน ระดับความสูง และได้กำหนดพื้นที่เพาะปลูกอย่างเป็นทางการเป็นโซนแบบ SHG ( Strictly High Grown) กำหนดความสูงของพื้นที่ ไว้ที่ 1,370 – 1,900 เมตร เมล็ดกาแฟที่ผลิตได้เรียกว่า SHB (Strictly Hard Bean) ซึ่งมีลักษณะเมล็ดที่ค่อนข้างแข็ง ถือว่าเป็นกาแฟที่ดีในโลก ส่วนกาแฟคุณภาพรองลงมา จะเป็นกาแฟที่ปลูกในระดับความสูง 1,066-1,370  เมตรจากระดับน้ำทะเล เรียกว่า Semi Hard/Hard ขณะที่ระหว่าง  764-1,066 เมตรจากระดับน้ำทะเล เรียกว่า  Extra Prime/EPW

การแบ่งโซนเพาะปลูกออกเป็น 8 โซน เรียกว่า A Rainbow of Choices ประกอบด้วย

  1. Antigua Coffee แอนติกัว ค๊อฟฟี่ ดินในภูมิภาคแอนติกาอุดมไปด้วยสารอาหาร จากแร่ธาตุที่สะสมโดยภูเขาไฟ Agua และ Acatenango, ปริมาณน้ำฝนที่มาก และอุณหภูมิที่สม่ำเสมอในภูมิภาคนี้ทำให้กาแฟที่ภูมิภาคแห่งนี้มีชื่อเสียง
  2. Acatenango Valley  ย่านหุบเขาอาคาเตนังโก ด้วยระดับความสูง 2,000 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล ป่าทึบของภูมิภาค Acatenago และอุณหภูมิที่ต่ำและมีลมกระโชกแรงจากมหาสมุทรแปซิฟิกเมล็ดกาแฟได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เพิ่มรสชาติให้มีเอกลักษณ์น่าลิ้มลอง
  3. Traditional Atitlan เทรดดิชั่นนัล อัตติลัน เมล็ดกาแฟของ Atitlán ได้รับด้วยสารอาหารจากดินภูเขาไฟ ทำให้กาแฟมีบอดี้เข้มข้นพร้อมกลิ่นซิตรัส เป็นสิ่งที่ทำให้เมล็ดกาแฟในภูมิภาคนี้มีความโดดเด่น
  4. Rainforest Coban เรนฟอเรส โคบาน ด้วยสภาพอากาศที่มีฝนตกชุกและหนาวเย็นตลอดทั้งปี อยู่ห่างไกลจากบริเวณภูเขาไฟที่มีแสงแดดส่องถึงอื่นๆ เมล็ดกาแฟถูกปลูกในดินที่เป็นดินเหนียวและหินปูน ภูมิภาคกึ่งเขตร้อนจะผลิตเมล็ดกาแฟที่มีบอดี้ปานกลางและมีรสเปรี้ยวน้อยกว่าและมีรสชาติที่สดใสกว่ากาแฟที่เติบโตในภูมิภาคอื่น
  5. Fraijanes Plateau ไฟรฆาเนส พลาโต ไร่กาแฟใน Fraijanes ได้รับประโยชน์จากขี้เถ้าที่ปล่อยออกมาจากภูเขาไฟ Pacaya ที่ยังปะทุอยู่ ส่งผลให้ดินอุดมด้วย โพแทสเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ ความสูงที่ 4,500 ฟุต และฝนตกชุกทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้น ดินที่จะแห้งอย่างรวดเร็ว ทำให้เมล็ดกาแฟได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ
  6. Highland Huehue ไฮแลนด์ เวเว  นิว เมล็ดกาแฟที่มีความเป็นกรดสูง มีกลิ่นหอมของผลไม้คือลักษณะของเมล็ดกาแฟจากภูมิภาคนี้ Huehuetenango เป็นพื้นที่ที่สูงและแห้งแล้งที่สุด มีระดับความสูงมากกว่า 2,000 เมตร แต่ก็ได้รับลมอุ่นจากภูเขา Tehuantepec ของเม็กซิโก จึงช่วยลดปัญหาจากการเกิดน้ำค้างแข็ง
  7. Nuevo Oriente นูโว ออเรียนเต้ เมล็ดกาแฟที่ปลูกกันทั่วไปคือ pache, catuai และ bourbon จากสภาพของพื้นที่ได้ให้ผลผลิตกาแฟมีความเป็นกรดและสมดุลพร้อมกลิ่นหอมที่ชัดเจน
  8. Volcanic San Marcos โวลคานิค ซาน มาร์คอส ภูมิภาคที่ร้อนที่สุดในกัวเตมาลาก็มีฝนตกชุกเช่นกัน ทำให้กาแฟออกดอกเร็วกว่าพื้นที่อื่น ผู้ผลิตกาแฟใช้เทคนิค “การอบแห้ง” เมล็ดกาแฟจะถูกทำให้แห้งจากแสงแดดก่อนที่จะนำไปให้ความร้อนในเครื่องอบ San Marcos ให้กาแฟที่เข้มข้นและนุ่มนวล หวานและรสที่ค้างอยู่ในคอเป็นเวลานาน

VARIETALS กาแฟที่ปลูกในกัวเตมาลาส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ Typica และ Bourbon แต่ที่ปลูกก็มี Catuai, Caturra และ Pache

มีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ ออกไปทาง ช็อคโกแลต, ถั่วเฮเซลนัท, และคาราเมล ให้กรดที่สดชื่นแบบ ส้ม – มะนาว และแอปเปิ้ล

ด้วยราคาที่เป็นมิตร จึงได้รับความสนใจจากโรงคั่วและร้านกาแฟพิเศษหลายแห่งทั่วโลก นำมาเป็นเมล็ดประจำร้าน

กาแฟจากกัวเตมาลามีความโดดเด่นในเรื่อง Clean Cup Coffee” ซึ่งหมายถึงความรู้สึก “สะอาดในรสชาติกาแฟ” แทบไม่มีข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับเมล็ดกาแฟไม่ว่าจะเป็นจากในขั้นตอนเพาะปลูก, การเก็บเกี่ยว, การแปรรูป หรือการจัดเก็บก่อนนำไปคั่ว กลายเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของ “กาแฟพิเศษ” หรือที่เราเรียกว่า Specialty Coffee